ชื่อพฤกษศาสตร์ Ficus benjamina L. var. variegata
วงศ์ MORACEAE
ชื่อพื้นเมือง ไทรย้อยใบแหลมด่าง จาเรย
ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ) นิยมปลูกเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ ลำต้นมีสีเทา ขึ้นได้ดีในดินร่วน ชอบแสงปานกลาง แสงมาก ชอบความชื้น
ชนิดป่าที่พบ ปาดิบแห้ง ปาดิบชืน และปาเบญจพรรณ
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
- ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
- ใบ
- ดอก
- ผล -ลำต้น ต้นไทรย้อย มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย อินเดีย และภูมิภาคมาเลเซีย จัดเป็นไม้ยืนต้นหรือพุ่มไม้ผลัดใบขนาดกลาง ที่มีความสูงได้ประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกเป็นพุ่มหนาทึบและแผ่กิ่งก้านสาขาทิ้งใบห้อยย้อยลง เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล กิ่งก้านห้อยย้อยลง มีลำต้นที่สูงใหญ่ ตามลำต้นจะมีรากอากาศแตกย้อยลงสู่พื้นดินเป็นจำนวนมากดูสวยงาม รากอากาศเป็นรากขนาดเล็ก เป็นเส้นสีน้ำตาล ลักษณะรากกลมยาวเหมือนเส้นลวดย้อยลงมาจากต้น รากอากาศที่มีขนาดใหญ่จะมีเนื้อไม้ด้วย มีรสจืดและฝาด
-ใบ ใบไทรย้อย ไทรย้อยแต่ละสายพันธุ์นั้นจะมีลักษณะของใบที่แตกต่างกันเล็กน้อย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมรูปไข่ บางต้นลักษณะของใบเป็นรูปกลมป้อม ส่วนบางพรรณก็เป็นรูปยาวรี
-ดอก ดอกไทรย้อย ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็ก เกิดภายในฐานรองดอกที่มีรูปทรงกลมคล้ายผล ออกเป็นคู่จากจ้างกิ่ง ไม่มีกลีบดอก
-ผล ผลไทรย้อย ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมหรือรี ออกผลเป็นคู่ ๆ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม สีน้ำตาล สีชมพู สีส้มแดง หรือสีม่วงดำเมื่อแก่ ไร้ก้าน
การขยายพันธุ์ การปักชำ การตอน การใช้เมล็ด
ช่วงเวลาออกดอก-ผล ผลออก ธันวาคม -เมษายน
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ รากไทรย้อยมีสรรพคุณเป็นยาแก้กาฬโลหิต รากอากาศมีสรรพคุณบำรุงโลหิต แก้ตกโลหิต
รากใช้เป็นยาแก้กระษัย (อาการป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม ปวดเมื่อย โลหิตจาง)
แหล่งอ้างอิง หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ไทรย้อย”. หน้า 384.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น