ชื่อพฤกษศาสตร์ Leucaena glauca Benth.
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่อพื้นเมือง กะเส็ดโคก กะเส็ดบก ตอเขา สะตอเขา สะตอเทศ ผักก้านถิน ผักหนองบก กระถินไทย กระถินบ้าน
ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ) กระถินเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา
ชนิดป่าที่พบ พบขึ้นเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่เปิดโล่ง พื้นที่ป่าถูกทำลาย ตั้งแต่ความแห้งแล้งสูงจนถึงพื้นที่ชุ่มชื้น มักขึ้นคลุมเพียงชนิดเดียว พบได้ทุกภาคของประเทศ
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
- ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
- ใบ
- ดอก
- ผล -ลำต้น ไม้กระถินยักษ์ เป็นไม้ขนาดกลาง มีลำต้นเรียบ เปลือกบางสีเทาปนน้ำตาลแดง
-ใบ ประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาว 12.5-25 ซม. แกนกลางใบ ประกอบยาว 10-20 ซม. มีขน แยกแขนง 2-10 คู่ ยาว 5-10 ซม.ก้านแขนงสั้น มีขน ใบย่อย 5-20 คู่ เรียงตรงข้าม รูปแถบ หรือรูปขอบขนานแกมรูปแถบ กว้าง 2-5 มม. ยาว 0.6-2.1 ซม. ปลายแหลม โคนเบี้ยวขอบมีขน ท้องใบมีนวล
-ดอก ออกเป็นช่อ ช่อดอกออกแบบช่อกระจุกแน่น ออกตามง่ามใบ 1-3 ช่อ เป็นฝอยนุ่มมีกลิ่นหอมเล็กน้อย
-ผล เป็นฝัก ฝักออกเป็นช่อแบนยาวประมาณ 4-5 นิ้วฟุต เห็นเมล็ดเป็นจุดๆ ในฝัก ตลอดฝัก
การขยายพันธุ์ กระถินทนความแห้งแล้งได้ดี และเติบโตเร็ว ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
ช่วงเวลาออกดอก-ผล ออกดอก ออกผลผลิตตลอดปี
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ -ดอก รสมัน บำรุงตับ แก้เกล็ดกระดี่ขึ้นตา
-ราก รสเจื่อน ขับลม ขับระดูขาว เป็นยาอายุวัฒนะ
-เมล็ด ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม (ascariasis)
แหล่งอ้างอิง สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ, สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ชนิดพันธุ์พืชต่างถิ่นรุกรานในประเทศไทย ( IAS in Thailand ). สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2559.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น