วงศ์ Anarcardiaceae
ชื่อพื้นเมือง กอกกุก กูก กอกเขา กอกหมอง ไพแช มะกอกบ้าน กราไพ้ย ไพ้ย
ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ) มะกอกเป็นไม้ที่พบขึ้นในป่าเบญจพรรณชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าทุ่ง สูงจากระดับน้ำทะเล 50-500 เมตร ชาวบ้าน นิยมนำมาปลูกตามสวนหรือในบริเวณบ้านขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง เป็นไม้ที่ขึ้นกลาง แจ้งและทนต่อแสงแดดได้ดี
ชนิดป่าที่พบ พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
- ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
- ใบ
- ดอก
- ผล -ลำต้น ไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง 15-25 เมตร ลำต้นกลม ตั้งตรง
-เปลือก สีเทา หนา เรียบ เปลือก ใบ และผล มีกลิ่นหอม มีรูอากาศตามลำต้น เรือนยอดเป็นพุ่มกลม โปร่ง กิ่งอ่อนมีรอยแผลจากการหลุดร่วงของใบ
-ใบ ประกอบแบบขนนก ปลายคี่ ชั้นเดียว เรียงแบบสลับ ใบย่อย 4-6 คู่ ออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน หรือเยื้องกันเล็กน้อย แผ่นใบรูปขอบขนาน ปลายแหลมหรือเป็นติ่งแหลม ฐานใบมนเบี้ยว ขอบใบเรียบ ใบค่อนข้างนุ่ม ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง เนื้อใบหนาเป็นมัน หลังใบเรียบเกลี้ยง ท้องใบเรียบ ก้านใบร่วมยาว
- ดอก แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกย่อยจำนวนมากขนาดเล็ก สีขาวครีม กลีบดอกรูปรี ปลายกลีบดอกแหลม ขนาดประมาณ 4 มิลลิเมตร ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ กลีบเลี้ยง และกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกสีขาว เกสรเพศผู้มี 10 อัน กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก
-ผล ผลสด มีเนื้อ ฉ่ำน้ำ รูปไข่ กว้าง 2.5-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ผลแก่สีเหลืองอมเขียว ถึงสีเหลืองอ่อน ประด้วยจุดสีเหลือง และดำ รสเปรี้ยวจัด เมล็ดเดียว ใหญ่และแข็งมาก ผิวเป็นเสี้ยนขรุขระ
-ยอดอ่อน รับประทานเป็นผัก
-ผล รับประทานได้
-ผลสุก นำมาใส่ส้มตำ น้ำพริก ยำ มีรสเปรี้ยว ฝาดเล็กน้อย
การขยายพันธุ์ การปักชำ การตอนกิ่ง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
ช่วงเวลาออกดอก-ผล ออกดอกราวเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ ใบ ใช้น้ำคั้นจากใบหยอดแก้ปวดหู ผล เปลือก ใบ กินเป็นยาบำรุงธาติ ช่วยให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ เลือดออกตามไรฟัน เนื้อ เนื้อในผลแก้ธาติพิการ เพราะน้ำดีไม่ปกติ และกระเพาะอาหารพิการ แก้บิด ใบ แก้ปวดท้อง
แหล่งอ้างอิง นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. "มะกอกป่า" ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กรุงเทพมหานคร : แสงแดด, 2550, หน้า 134.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น