วงศ์ MORACEAE
ชื่อพื้นเมือง ขะนู (จันทบุรี), นะยวยซะ (กาญจนบุรี), เนน (นครราชสีมา), ซีคึย ปะหน่อย หมากกลาง (แม่ฮ่องสอน), นากอ (ปัตตานี), มะหนุน (ภาคเหนือ ภาคใต้), ลาน ล้าง (ภาคเหนือ), หมักหมี้ (ตะวันอองเฉียงเหนือ)
ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ) มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และแพร่หลายมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และได้รับความนิยมมากในคาบสมุทรมลายู
ชนิดป่าที่พบ พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
- ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
- ใบ
- ดอก
- ผล -ลำต้น ต้นขนุน เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15-30 เมตร กิ่งและลำต้นเมื่อมีแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นไหลออกมา
-ใบ ลักษณะของใบขนุน เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบเป็นรูปรี ปลายใบทู่ถึงแหลม โคนใบมน ใบหนา ผิวด้านบนของใบจะมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนผิวใบด้านล่างจะสากมือ ใบขนุนกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร
-ดอก ขนุน ออกเป็นช่อเชิงสดแยกเพศอยู่รวมกัน เป็นช่อสีเขียว อัดกันแน่นและอยู่บนต้นเดียวกัน โดยดอกเพศผู้จะออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ ซึ่งเราจะเรียกว่า “ส่า” ส่วนดอกเพศเมียจะออกตามกิ่งใหญ่และลำต้น เมื่อติดผลดอกทั้งช่อจะเจริญร่วมกันเป็นผลรวมมีขนาดใหญ่ โดย 1 ดอกจะกลายเป็น 1 ยวง
-ผล ผลขนุน หรือ ลูกขนุน ลักษณะภายนอกจะคล้าย ๆ จำปาดะ (ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกัน) โดยลักษณะของลูกขนุน ในผลดิบเปลือกมีสีขาว หนามทู่ ถ้ากรีดจะมียางเหนียว ถ้าแก่เปลือกจะมีสีน้ำตาลอ่อนอมเหลืองและหนามจะป้านขึ้นด้วย ภายในผลของขนุนจะมีซังขนุนหุ้มยวงสีเหลืองไว้ เมล็ดจะอยู่ในยวง
การขยายพันธุ์ การใช้เมล็ด การตอน การทาบกิ่ง
ช่วงเวลาออกดอก-ผล ดอกขนุนจะออกดอกปีละ 2 ครั้ง คือในช่วงเมษายน-พฤษภาคม และในช่วงธันวาคม-มกราคม
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ -ยวง หรือ เนื้อหุ้มผล ที่สุก นิยมนำมารับประทานเป็นผลไม้ ใช้แกะทำขนมหวาน
-ซังขนุน มีรสหวาน นิยมนำมารับประทานได้เช่นกัน
-ยวงใช้ทำขนุนอบแห้ง ขนุนกระป๋อง
-ผลขนุนดิบ นิยมนำมาประกอบอาหารคาวได้หลายอย่าง อาทิ แกงขนุน ซุบขนุน
-ผลขนุนดิบ นำมาลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก
- ยอดอ่อน และใบอ่อนนำมาทอดให้กรอบ ใช้รับประทานคู่กับอาหารประเภทลาบต่างๆ
- เปลือกผล ใช้ทำปุ๋ยหมัก
-เนื้อไม้หรือแก่นไม้ นำมาต้มใช้ย้อมผ้าที่ให้สีเหลือง
- ท่อนไม้ ใช้เป็นวัสดุเพาะเห็ดหูหนู เห็ดหลินจือ รวมถึงนำมาบดใช้สำหรับเพาะเห็ดชนิดต่างๆ
- ท่อนไม้ นำมาบดเป็นวัสดุผสมดินสำหรับการปลูก และเพาะพันธุ์กล้าไม้
แหล่งอ้างอิง หนังสือเภสัชกรรมไทยร่วมอนุรักษ์มรดกไทย (วุฒิ วุฒิธรรมเวช)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น