วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ต้นกระบก


ชื่อพฤกษศาสตร์ Irvingia malayana Oliv. ex A.W.Benn.
วงศ์ กระบก (IRVINGIACEAE)
ชื่อพื้นเมือง มะลื่น หมักลื่น (สุโขทัย, นครราชสีมา), ซะอัง (ตราด), หลักกาย (ส่วน-สุรินทร์), มื่น มะมื่น (ภาคเหนือ), บก หมากบก หมากกระบก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กะบก กระบก จะบก ตระบก (ภาคกลาง)
ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ) เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินทุกชนิด ในที่กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลางมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ
ชนิดป่าที่พบ ตามป่าดิบแล้ง ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ ป่าหญ้า และป่าแดงและยังจัดเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ดด้วย
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
 - ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
 - ใบ
 - ดอก
 - ผล -ลำต้น  กระบก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบ ทรงเรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-30 เมตร ลำต้นเปลา เปลือกต้นมีสีเทาอ่อนปนสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ โคนต้นมักขึ้นเป็นพูพอน
-ใบ  กระบก มีใบเป็นใบเดี่ยวติดเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปรีแกมรูปขอบขนานจนถึงรูปใบหอก เนื้อใบหนาเกลี้ยงทั้งสองด้าน ขอบใบเรียบ โคนใบมนแหลมหรือเว้าเล็กน้อย สอบเรียวไปทางปลายใบ ปลายใบแหลมทู่ มักมีเส้นแขนงปลอมแซมระหว่างกลาง เส้นใบย่อยเป็นแบบขั้นบันได เห็นได้ชัดจากด้านท้องใบ เมื่อใบแห้งจะเห็นเส้นร่างแหชัดทั้งสองด้าน ปลายใบเป็นติ่งมน มีหูใบ หูใบมีลักษณะพิเศษคือ ม้วนหุ้มยอด เรียวแหลม โค้งเล็กน้อยลักษณะเป็นรูปดาบ
- ดอก  กระบก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกมีสีเขียวอมเขียวอ่อน มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้อยู่ 10 อัน
-ผล  กระบก หรือ ลูกกระบก ลักษณะของผลเป็นรูปกลมรี หรือค่อนข้างเป็นรูปไข่ ลักษณะแบนเล็กน้อย คล้ายกับผลมะม่วงขนาดเล็ก โดยผลอ่อนจะมีสีเขียว แต่เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ในผลมีเมล็ดและมีเนื้อหุ้มเมล็ดเละ ๆ เหมือนมะม่วง ในผลกระบกมีเมล็ด
-เมล็ด  กระบก หรือ เม็ดกระบก เมล็ดโตเป็นรูปไข่ เป็นเมล็ดเดี่ยว มีเปลือกแข็ง เนื้อในเมล็ดมีสีขาวอัดแน่นอยู่ (ลักษณะเป็นเนื้อแป้ง) และมีน้ำมัน
การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
ช่วงเวลาออกดอก-ผล ออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม  ติดผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ ต้นกระบกมีประโยชน์ในด้านภูมิสถาปัตย์ เหมาะสำหรับใช้ปลูกเป็นกลุ่มในพื้นที่โล่ง ๆ ตามสวนสาธารณะต่าง ๆ สวนรุกขชาติ หรือในสวนสัตว์เปิด ให้เป็นที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ป่าได้
ไม้กระบกเป็นไม้เนื้อแข็งและหนัก มีเสี้ยนตรงแข็งมาก ไม่แตกแยกเมื่อแห้ง เลื่อยผ่าตบแต่งได้ง่าย สามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องมือกสิกรรมต่าง ๆ เช่น ครก สาก เครื่องสีข้าว รวมถึงสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่ม และยังนำมาทำเป็นฟืน หรือถ่านที่ให้ความร้อนสูงได้ เป็นต้น
แหล่งอ้างอิง สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th.  [8 ต.ค. 2013].

ต้นกฐิน


ชื่อพฤกษศาสตร์ Leucaena glauca Benth.
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่อพื้นเมือง กะเส็ดโคก  กะเส็ดบก  ตอเขา  สะตอเขา สะตอเทศ  ผักก้านถิน  ผักหนองบก  กระถินไทย กระถินบ้าน
ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ) กระถินเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา
ชนิดป่าที่พบ พบขึ้นเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่เปิดโล่ง พื้นที่ป่าถูกทำลาย ตั้งแต่ความแห้งแล้งสูงจนถึงพื้นที่ชุ่มชื้น มักขึ้นคลุมเพียงชนิดเดียว พบได้ทุกภาคของประเทศ
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
 - ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
 - ใบ
 - ดอก
 - ผล -ลำต้น  ไม้กระถินยักษ์ เป็นไม้ขนาดกลาง มีลำต้นเรียบ เปลือกบางสีเทาปนน้ำตาลแดง
-ใบ ประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาว 12.5-25 ซม. แกนกลางใบ ประกอบยาว 10-20 ซม. มีขน แยกแขนง 2-10 คู่ ยาว 5-10 ซม.ก้านแขนงสั้น มีขน ใบย่อย 5-20 คู่ เรียงตรงข้าม รูปแถบ หรือรูปขอบขนานแกมรูปแถบ กว้าง 2-5 มม. ยาว 0.6-2.1 ซม. ปลายแหลม โคนเบี้ยวขอบมีขน ท้องใบมีนวล
 -ดอก   ออกเป็นช่อ ช่อดอกออกแบบช่อกระจุกแน่น ออกตามง่ามใบ 1-3 ช่อ เป็นฝอยนุ่มมีกลิ่นหอมเล็กน้อย

 -ผล  เป็นฝัก ฝักออกเป็นช่อแบนยาวประมาณ 4-5 นิ้วฟุต เห็นเมล็ดเป็นจุดๆ ในฝัก ตลอดฝัก

การขยายพันธุ์ กระถินทนความแห้งแล้งได้ดี และเติบโตเร็ว ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
ช่วงเวลาออกดอก-ผล ออกดอก ออกผลผลิตตลอดปี
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ -ดอก รสมัน บำรุงตับ แก้เกล็ดกระดี่ขึ้นตา
 -ราก รสเจื่อน ขับลม ขับระดูขาว เป็นยาอายุวัฒนะ
 -เมล็ด ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม (ascariasis)
แหล่งอ้างอิง สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ, สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ชนิดพันธุ์พืชต่างถิ่นรุกรานในประเทศไทย ( IAS in Thailand ). สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2559.

ต้นไทร



ชื่อพฤกษศาสตร์ Ficus benjamina L. var. variegata
วงศ์ MORACEAE
ชื่อพื้นเมือง ไทรย้อยใบแหลมด่าง จาเรย

ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ) นิยมปลูกเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ ลำต้นมีสีเทา ขึ้นได้ดีในดินร่วน ชอบแสงปานกลาง แสงมาก ชอบความชื้น
ชนิดป่าที่พบ ปาดิบแห้ง ปาดิบชืน และปาเบญจพรรณ
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
 - ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
 - ใบ
 - ดอก
 - ผล -ลำต้น ต้นไทรย้อย มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย อินเดีย และภูมิภาคมาเลเซีย จัดเป็นไม้ยืนต้นหรือพุ่มไม้ผลัดใบขนาดกลาง ที่มีความสูงได้ประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกเป็นพุ่มหนาทึบและแผ่กิ่งก้านสาขาทิ้งใบห้อยย้อยลง เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล กิ่งก้านห้อยย้อยลง มีลำต้นที่สูงใหญ่ ตามลำต้นจะมีรากอากาศแตกย้อยลงสู่พื้นดินเป็นจำนวนมากดูสวยงาม รากอากาศเป็นรากขนาดเล็ก เป็นเส้นสีน้ำตาล ลักษณะรากกลมยาวเหมือนเส้นลวดย้อยลงมาจากต้น รากอากาศที่มีขนาดใหญ่จะมีเนื้อไม้ด้วย มีรสจืดและฝาด
-ใบ   ใบไทรย้อย ไทรย้อยแต่ละสายพันธุ์นั้นจะมีลักษณะของใบที่แตกต่างกันเล็กน้อย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมรูปไข่ บางต้นลักษณะของใบเป็นรูปกลมป้อม ส่วนบางพรรณก็เป็นรูปยาวรี
-ดอก  ดอกไทรย้อย ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็ก เกิดภายในฐานรองดอกที่มีรูปทรงกลมคล้ายผล ออกเป็นคู่จากจ้างกิ่ง ไม่มีกลีบดอก
-ผล  ผลไทรย้อย ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมหรือรี ออกผลเป็นคู่ ๆ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม สีน้ำตาล สีชมพู สีส้มแดง หรือสีม่วงดำเมื่อแก่ ไร้ก้าน
การขยายพันธุ์ การปักชำ การตอน การใช้เมล็ด
ช่วงเวลาออกดอก-ผล ผลออก ธันวาคม -เมษายน
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ รากไทรย้อยมีสรรพคุณเป็นยาแก้กาฬโลหิต รากอากาศมีสรรพคุณบำรุงโลหิต แก้ตกโลหิต
รากใช้เป็นยาแก้กระษัย (อาการป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม ปวดเมื่อย โลหิตจาง)
แหล่งอ้างอิง หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “ไทรย้อย”.  หน้า 384.

ต้นมะกอก


ชื่อพฤกษศาสตร์ Spondias pinnata (L.f.) Kurz
วงศ์ Anarcardiaceae
ชื่อพื้นเมือง กอกกุก กูก กอกเขา กอกหมอง ไพแช มะกอกบ้าน กราไพ้ย ไพ้ย
ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ) มะกอกเป็นไม้ที่พบขึ้นในป่าเบญจพรรณชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าทุ่ง สูงจากระดับน้ำทะเล 50-500 เมตร ชาวบ้าน นิยมนำมาปลูกตามสวนหรือในบริเวณบ้านขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง เป็นไม้ที่ขึ้นกลาง แจ้งและทนต่อแสงแดดได้ดี
ชนิดป่าที่พบ พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
 - ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
 - ใบ
 - ดอก
 - ผล -ลำต้น   ไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง 15-25 เมตร ลำต้นกลม ตั้งตรง
-เปลือก   สีเทา หนา เรียบ เปลือก ใบ และผล มีกลิ่นหอม มีรูอากาศตามลำต้น เรือนยอดเป็นพุ่มกลม โปร่ง กิ่งอ่อนมีรอยแผลจากการหลุดร่วงของใบ
 -ใบ  ประกอบแบบขนนก ปลายคี่ ชั้นเดียว เรียงแบบสลับ ใบย่อย 4-6 คู่ ออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน หรือเยื้องกันเล็กน้อย แผ่นใบรูปขอบขนาน ปลายแหลมหรือเป็นติ่งแหลม ฐานใบมนเบี้ยว ขอบใบเรียบ ใบค่อนข้างนุ่ม ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง  เนื้อใบหนาเป็นมัน หลังใบเรียบเกลี้ยง ท้องใบเรียบ ก้านใบร่วมยาว
- ดอก   แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกย่อยจำนวนมากขนาดเล็ก สีขาวครีม กลีบดอกรูปรี ปลายกลีบดอกแหลม ขนาดประมาณ 4 มิลลิเมตร ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ กลีบเลี้ยง และกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกสีขาว เกสรเพศผู้มี 10 อัน กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก
 -ผล   ผลสด มีเนื้อ ฉ่ำน้ำ รูปไข่ กว้าง 2.5-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ผลแก่สีเหลืองอมเขียว ถึงสีเหลืองอ่อน ประด้วยจุดสีเหลือง และดำ รสเปรี้ยวจัด เมล็ดเดียว ใหญ่และแข็งมาก ผิวเป็นเสี้ยนขรุขระ
 -ยอดอ่อน รับประทานเป็นผัก
 -ผล  รับประทานได้
 -ผลสุก  นำมาใส่ส้มตำ น้ำพริก ยำ มีรสเปรี้ยว ฝาดเล็กน้อย
การขยายพันธุ์ การปักชำ การตอนกิ่ง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
ช่วงเวลาออกดอก-ผล ออกดอกราวเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ ใบ ใช้น้ำคั้นจากใบหยอดแก้ปวดหู ผล เปลือก ใบ กินเป็นยาบำรุงธาติ ช่วยให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ เลือดออกตามไรฟัน เนื้อ เนื้อในผลแก้ธาติพิการ เพราะน้ำดีไม่ปกติ และกระเพาะอาหารพิการ แก้บิด ใบ แก้ปวดท้อง
แหล่งอ้างอิง นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. "มะกอกป่า" ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กรุงเทพมหานคร : แสงแดด, 2550, หน้า 134.

ต้นขนุน

ชื่อพฤกษศาสตร์ Artocarpus heterophyllus Lam.
วงศ์ MORACEAE
ชื่อพื้นเมือง ขะนู (จันทบุรี), นะยวยซะ (กาญจนบุรี), เนน (นครราชสีมา), ซีคึย ปะหน่อย หมากกลาง (แม่ฮ่องสอน), นากอ (ปัตตานี), มะหนุน (ภาคเหนือ ภาคใต้), ลาน ล้าง (ภาคเหนือ), หมักหมี้ (ตะวันอองเฉียงเหนือ)
ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ) มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และแพร่หลายมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และได้รับความนิยมมากในคาบสมุทรมลายู
ชนิดป่าที่พบ พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
 - ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
 - ใบ
 - ดอก
 - ผล -ลำต้น  ต้นขนุน เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15-30 เมตร กิ่งและลำต้นเมื่อมีแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นไหลออกมา
-ใบ   ลักษณะของใบขนุน เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบเป็นรูปรี ปลายใบทู่ถึงแหลม โคนใบมน ใบหนา ผิวด้านบนของใบจะมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนผิวใบด้านล่างจะสากมือ ใบขนุนกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร
-ดอก  ขนุน ออกเป็นช่อเชิงสดแยกเพศอยู่รวมกัน เป็นช่อสีเขียว อัดกันแน่นและอยู่บนต้นเดียวกัน โดยดอกเพศผู้จะออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ ซึ่งเราจะเรียกว่า “ส่า” ส่วนดอกเพศเมียจะออกตามกิ่งใหญ่และลำต้น เมื่อติดผลดอกทั้งช่อจะเจริญร่วมกันเป็นผลรวมมีขนาดใหญ่ โดย 1 ดอกจะกลายเป็น 1 ยวง
-ผล   ผลขนุน หรือ ลูกขนุน ลักษณะภายนอกจะคล้าย ๆ จำปาดะ (ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกัน) โดยลักษณะของลูกขนุน ในผลดิบเปลือกมีสีขาว หนามทู่ ถ้ากรีดจะมียางเหนียว ถ้าแก่เปลือกจะมีสีน้ำตาลอ่อนอมเหลืองและหนามจะป้านขึ้นด้วย ภายในผลของขนุนจะมีซังขนุนหุ้มยวงสีเหลืองไว้ เมล็ดจะอยู่ในยวง
การขยายพันธุ์ การใช้เมล็ด การตอน การทาบกิ่ง
ช่วงเวลาออกดอก-ผล ดอกขนุนจะออกดอกปีละ 2 ครั้ง คือในช่วงเมษายน-พฤษภาคม และในช่วงธันวาคม-มกราคม
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ -ยวง หรือ เนื้อหุ้มผล ที่สุก นิยมนำมารับประทานเป็นผลไม้ ใช้แกะทำขนมหวาน
 -ซังขนุน มีรสหวาน นิยมนำมารับประทานได้เช่นกัน
-ยวงใช้ทำขนุนอบแห้ง ขนุนกระป๋อง
-ผลขนุนดิบ นิยมนำมาประกอบอาหารคาวได้หลายอย่าง อาทิ แกงขนุน ซุบขนุน
-ผลขนุนดิบ นำมาลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก
- ยอดอ่อน และใบอ่อนนำมาทอดให้กรอบ ใช้รับประทานคู่กับอาหารประเภทลาบต่างๆ
- เปลือกผล ใช้ทำปุ๋ยหมัก
-เนื้อไม้หรือแก่นไม้ นำมาต้มใช้ย้อมผ้าที่ให้สีเหลือง
- ท่อนไม้ ใช้เป็นวัสดุเพาะเห็ดหูหนู เห็ดหลินจือ รวมถึงนำมาบดใช้สำหรับเพาะเห็ดชนิดต่างๆ
- ท่อนไม้ นำมาบดเป็นวัสดุผสมดินสำหรับการปลูก และเพาะพันธุ์กล้าไม้
แหล่งอ้างอิง หนังสือเภสัชกรรมไทยร่วมอนุรักษ์มรดกไทย (วุฒิ วุฒิธรรมเวช)

ต้นกระบก

ชื่อพฤกษศาสตร์ Irvingia malayana Oliv. ex A.W.Benn. วงศ์ กระบก (IRVINGIACEAE) ชื่อพื้นเมือง มะลื่น หมักลื่น (สุโขทัย, นครราชสีมา), ซ...